การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
กลไกสำคัญในการรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช คือ ควบคุมสมดุลระหว่างการคายน้ำผ่านปากใบและการดูดน้ำที่ราก ถ้าคายน้ำมากก็ต้องดูดน้ำเข้าทางรากมากเช่นกัน ส่วนมากจะคายน้ำที่ปากใบ
การคายน้ำทางปากใบ เรียกว่า สโตมาทอล ทรานสพิเรชัน ( stomatal transpiration ) เป็นการคายน้ำที่เกิดขึ้นมากถึง 90 %
ลักษณะของปากใบ
ปากใบของพืชประกอบด้วยช่องเล็กๆ ในเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของใบ เรียกว่าชั้นเอพิเดอร์มีส ( epidermis layer )
เซลล์ชั้นนี้เป็นชั้นที่อยู๋นอกสุดปกคลุมส่วนที่อยู่ข้างในที้งทางด้านบน คือ เอพิเดอร์มิสด้านบน ( upper epidermis )
และทางด้านล่าง คือ เดพิเดอร์มิสด้านล่าง ( lower epidermis ) เซลล์ชั้นนี้ไม่มีคลอโรฟีลล์อยู่ด้วย จึงทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้เซลล์เอพิเดอร์มิสบางเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เป็น เซลล์ ( gusrd cell ) อยู่ด้วยกันเป็นคู่ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดงประกบกัน ผนังด้านในของเซลล์คุมหนากว่าผนังเซลล์ด้านนอกระหว่างเซลล์คุมเป็นปากใบ ( stomata ) พบว่าทางด้านล่างของใบมีปากใบอยู่มากกว่าทางด้านบน
ลักษณะของเซลล์คุม
เซลล์คุม ( guard cell ) ทำหน้าที่ปิดและเปิดปากใบ เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ เซลล์คุมมีคลอโรฟีลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดมิดของปากใบ ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารพวกขึ้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน ฉาบอยู่ช่วงป้องกันการระเหยของน้ำ ออกจากผิวใบปากใบพืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น